technoiogy de sig n
พระพุทธศาสนา ม.2
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษา วิเคราะห์ ฝึกปฏิบัติ สร้างความคิดรวบยอด นำภูมิปัญญาท้องถิ่น สภาพปัญหาชีวิต สภาพแวดล้อม เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักและเห็นคุณค่าในเรื่องต่อไปนี้
พระพุทธ เกี่ยวกับ ประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนา เรื่องการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน การนับถือพระพุทธศาสนาของประเทศเพื่อนบ้านในปัจจุบัน ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะที่ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน ความสำคัญของพระพุทธศาสนาต่อสังคมไทยในฐานะเป็นรากฐานวัฒนธรรม เอกลักษณ์และมรดกของชาติ พระพุทธศาสนากับการพัฒนาชุมชนและการจัดระเบียบสังคม พุทธประวัติ สรุปและวิเคราะห์พุทธประวัติเรื่อง การผจญมาร การตรัสรู การสั่งสอน ชาดก เรื่องมิตตวินทุกชาดก ราโชวาทชาดก วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เรื่อง หลักธรรมเบื้องต้นที่เกี่ยวเนื่องในวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอัฏฐมีบูชา วันอาสาฬหบูชา ระเบียบพิธีและการปฏิบัติตนในวันธรรมสวนะและเทศกาลสำคัญ วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา และวันเทโวโรหณะ ศึกษา วิเคราะห์คุณค่าผลงานภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านพระพุทธศาสนา มุ่งอนุรักษ์ศาสนวัตถุ และศาสนสถานในท้องถิ่น
พระธรรม เกี่ยวกับ หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เรื่อง พระรัตนตรัย (ธรรมคุณ ๖) อริยสัจ ๔ ทุกข์ (ธรรมที่ควรรู้) : ขันธ์ ๕ - อายตนะ , สมุทัย (ธรรมที่ควรละ) : หลักกรรม-สมบัติ ๔ วิบัติ ๔ อกุศลกรรมบถ ๑๐ อบายมุข ๖, นิโรธ (ธรรมที่ควรบรรลุ) : สุข ๒ (สามิส, นิรามิส), มรรค (ธรรมที่ควรเจริญ) : บุพพนิมิตของมัชฌิมาปฏิปทา ดรุณธรรม ๖ กุลจิรัฏฐิติธรรม ๔ กุศลกรรมบถ ๑๐ สติปัฏฐาน ๔ มงคล ๓๘ ในเรื่อง ประพฤติธรรม เว้นจากความชั่ว เว้นจากการดื่มน้ำเมา พุทธศาสนสุภาษิตคือ กมฺมุนา วตฺตตี โลโก (สัตว์โลก ย่อมเป็นไปตามกรรม) กลฺยาณการี กลฺยานํ ปาปการี จ ปาปกํ (ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว) สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย (การสั่งสมบุญ นำสุขมาให้) ปูชโก ลภเต ปูชํ วนฺทโก ปฏิวนฺทนํ (ผู้บูชาเขาย่อมได้รับการบูชาตอบ ผู้ไหว้เขา ย่อมได้รับการไหว้ตอบ) พระไตรปิฎก โครงสร้าง ชื่อคัมภีร์ และสาระสังเขปของพระสุตตันตปิฎก เรื่องน่ารู้จากพระไตรปิฎก จูฬกัมมวิภังคสูตร ศัพท์ทางพระพุทธศาสนา คือ ฌาน-ญาณ การบริหารจิตและเจริญปัญญา สวดมนต์แปล และแผ่เมตตา วิธีปฏิบัติและประโยชน์ของการบริหารจิตและเจริญปัญญา ฝึกการบริหารจิตและเจริญปัญญาตามหลักสติปัฏฐานเน้นอานาปานสติ นำวิธีการบริหารจิตและเจริญปัญญาไปใช้ในชีวิตประจำวัน พัฒนาการเรียนรู้ด้วยวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ ๒ วิธีคือ วิธีคิดแบบอุบายปลุกเร้าคุณธรรม และความคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นในการนำหลักธรรมไปใช้ในชีวิตประจำวัน
พระสงฆ์ เกี่ยวกับ ประวัติพุทธสาวก พุทธสาวิกา ได้แก่ พระสารีบุตร พระโมคัลลานะ นางขุชชุตตรา พระเจ้าพิมพิสาร ชาวพุทธตัวอย่าง ได้แก่ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยา วชิรญาณวโรรส พระมหาธรรมราชาลิไท หน้าที่ชาวพุทธเรื่องการเข้าใจบทบาทของพระภิกษุในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา การแสดงธรรม ปาฐกถาธรรม การประพฤติตนให้เป็นแบบอย่าง การฝึกบทบาทของตนเองในการช่วยเผยแผ่พระพุทธศาสนา การบรรยายธรรม การจัดนิทรรศการ การเข้าค่ายพุทธบุตร การเข้าร่วมพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา การเป็นลูกที่ดีตามหลักทิศเบื้องหน้าในทิศ ๖ การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ มรรยาทชาวพุทธและการปฏิบัติตนต่อพระภิกษุ เรื่องการต้อนรับ (ปฏิสันถาร) มรรยาทของผู้เป็นแขก ฝึกปฏิบัติระเบียบพิธี การยืน การให้ที่นั่ง การเดินสวนทาง การสนทนา การรับสิ่งของ การแต่งกายไปวัด การแต่งกายไปงานมงคล งานอวมงคล ศาสนพิธี เรื่อง การทำบุญตักบาตร การถวายภัตตาหาร สิ่งของที่ควรถวายและการจัดเครื่องไทยธรรม เครื่องไทยธรรม การกรวดน้ำ การทอดกฐิน การทอดผ้าป่า การปฏิบัติตนเป็นชาวพุทธที่ดีในท้องถิ่นต่าง ๆ สัมมนาพระพุทธศาสนากับการแก้ปัญหาและการพัฒนา เรื่อง พระพุทธศาสนากับการพัฒนาชุมชนและการจัดระเบียบสังคม
เพื่อให้เกิดศรัทธาอย่างยิ่งต่อพระรัตนตรัย และรักการเรียนรู้พระพุทธศาสนา ประพฤติปฏิบัติตนเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีมีคุณธรรม จริยธรรมในการอยู่ร่วมกันในสังคม และสามารถนำหลักธรรมไปใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ การทำงานอย่างมีคุณค่าต่อชีวิตตนเองและสังคมโดยส่วนรวม